เนื้อหาในเว็บไซต์ ของ กูเกิล เพลย์

แอปพลิเคชันแอนดรอยด์

กูเกิลเพลย์ให้บริการขายแอปพลิเคชันฟรีและเสียเงิน มีประเทศที่สามารถซื้อแอปพลิเคชันผ่านกูเกิลเพลย์อยู่ประมาน 135 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันลงอุปกรณแอนดรอยด์ได้ผ่านแอปพลิเคชัน Play สโตร์ หรือผ่านหน้าเว็ปของกูเกิลเพลย์บนคอมพิวเตอร์พีซี ตามสถิติจากเว็บแอปเบรน[3] ในต้นเดือนกุมพาพันธ์ปี 2558 มีแอพอยู่ประมาณ 1.5 ล้านแอพ โดยมีแอพทีไม่ได้มาตรฐานอยู่ประมาณร้อยละ15

ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มี 61 ประเทศที่สามารถขายแอปพลิเคชันแบบเสียเงินซื้อ รวมถึงประเทศไทย โดยผู้พัฒนาจะต้องจ่ายเงิน 25 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 800 บาท) ผ่านแผงควบคุมของผู้พัฒนา[4] โดยผู้พัฒนาจะได้เงินร้อยละ 70 จากราคาแอปพลิเคชัน

แอปพลิเคชันที่ทำตามข้อกำหนดทางการออกแบบของกูเกิลจะสามารถใช้ได้บนอุปกรณ์แอนดรอยด์ทีวีและแอนดรอยด์แวร์

หนังสือ

ในกูเกิลเพลย์หนังสือมีทั้งหนังสือฟรีและเสียเงิน แต่อย่างไรก็ตามในการที่ผู้ใช้จะรับหนังสือฟรี ผู้ใช้จะต้องมีวิธีในการจ่ายเงินในบัญชีกูเกิลเสียก่อน เช่นบัตรเครดิต ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังสือไปอ่านได้บนอุปกรณ์ใดก็ได้ที่รองรับ Adobe eBook DRM แอปพลิเคชัน Play หนังสือบนอุปกรณ์แอนดรอยด์และไอโอเอส ด้วยแอปพลิเคชันนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บไว้อ่านได้โดยไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ต และสามารถอ่านบนเบราว์เซอร์ที่รองรับHTML 5 ผู้ใช้ยังสามารถอัปโหลดหนังสือแบบ PDF และ EPUB ที่มีขนาดไม่เกิน 100Mb ได้ฟรีถึง 1000 เล่ม

ภาพยนตร์

ภาพยนตร์มีทั้งแบบซื้อและแบบเช่า ผู้ใช้สามารถรับชมภาพยนตร์ที่ได้ซื้อผ่านเว็บไซต์กูเกิลเพลย์ หรือผ่านแอปพลิเคชัน Play ภาพยนตร์บนอุปกรณ์แอนดรอยด์และไอโอเอสด้วยแอปพลิเคชัน Play ภาพยนตร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บไว้ดูได้โดยไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ต บริการภาพยนตร์มีให้บริการใน 70 ประเทศรวมถึงประเทศไทย แต่รายการทีวีมีให้บริการเฉพาะในสหรัฐ, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, แคนาดา, ญี่ปุ่นเท่านั้น รายการทีวีไม่สามารถเช่าได้ต้องซื้อเป็นตอนหรือภาค

แผงหนังสือ

มีนิตยสารและข่าวให้บริการทั้งฟรี และแบบเสียค่าบริการ แผงหนังสือได้เปิดให้บริการในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558[5] โดยมีสำนักพิมพ์ในไทยเข้าร่วมระบบแผงหนังสือหลายราย นิตยสารทุกฉบับจะอนุญาตให้ผู้ใช้ทดลองอ่านได้ 30 วัน แต่ข่าวแบบเสียเงินที่สามารถทดลองอ่านได้จะมีจำนวนแตกต่างกันไป

เกม

เป็นบริการเกมของกูเกิลคล้ายคลึงกับสตีม (ซอฟต์แวร์) โดยที่การซื้อเกมจะทำผ่านแอปพลิเคชัน Play สโตร์ เพลย์เกมทำให้ผู้ใช้ค้นพบเกมตามเกมก่อนหน้านี้ที่ผู้ใช้เคยเล่น เพลย์เกมเปิดให้ผู้พัฒนาเกมบันทึกข้อมูลการเล่นไว้บนคลาวด์ ให้รางวัลไปแสดงบนหน้าโปรไฟล์ของผู้เล่น ให้รางวัลเพื่อเพื่มเลเวล และแสดงกระดานผู้นำในโหมดต่างๆ ของเกม โดยทั้งหมดนี้ผู้เล่นจะต้องลงชื่อเข้าใช้ผ่านบัญชีกูเกิลแต่อย่างไรก็ตามผู้เล่นเกมบางคนก็ไม่เพิ่มระบบนี้เข้าไปในเกม ผู้เล่นบางคนเข้าใช้เกมด้วยบัญชีอื่นโดยเฉพาะบัญชีเฟซบุ๊ก

เพลง

ให้ผู้ใช้ที่มีวิธีในการชำระเงินซื้อเพลง อัลบั้มเพลง หรือจ่ายรายเดือนเพื่อฟังเพลงทั้งหมดในคลังของกูเกิล อนุญาตให้จัดเก็บเพลงฟรี 10,000 เพลง ปัจจุบันยังไม่เปิดบริการในประเทศไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: กูเกิล เพลย์ http://www.appbrain.com/stats/number-of-android-ap... http://googlethailand.blogspot.com/2015/09/google-... http://support.google.com/androidmarket/developer/... http://support.google.com/googleplay/android-devel... http://support.google.com/googleplay/bin/answer.py... http://www.google.com/ http://www.google.com/tv/features.html https://play.google.com https://support.google.com/googleplay/answer/14377... https://support.google.com/googleplay/answer/28431...